วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่ม REVERSE OSMOSIS

วิธีการติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบ Reverse Osmosis (RO) มีวิธีการติดตั้งที่ไม่ยุ่งยาก สามารถติดตั้งได้เอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้
ในกรณีต้องการยึดเครื่องกรองน้ำติดกับผนังก็จำเป็นจะต้องเจาะรูที่กำแพง โดยเริ่มจากกำหนดจุดที่ต้องเจาะ ให้ทำการวัดระยะห่างของรูสำหรับแขวนที่ตัวเครื่องกรองน้ำ
001

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเติมน้ำยาแอร์ R-22

ไม่ได้เติมน้ำยาแอร์มาตั้งนานวันนี้มีห้องพักA05 น้ำยาแอร์รั่ว เลยต้องจัดการเติมน้ำยาแอร์ มาเริ่มกันเลยนะครับ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
- เกจวัดความดัน

- น้ำยาแอร์


ขั้นตอนการเติมน้ำยาแอร์
- นำเกจวัดความดันต่อสายดังรูปด้านล่าง










- นำปลายสายสีเหลืองไปต่อกับถังน้ำยาแอร์ R-22
- ขั้นน๊อตออก แล้วนำปลายสายสีน้ำเงินต่อเข้ากับท่อทองแดงอันใหญ่ ดังรูปด้านล่าง










- เติมน้ำยาแอร์ ไปเรื่อยๆ จนได้ความดันประมาณ 65-70 psi

ข้อสังเกตุที่ควรรู้
- เมื่อเติมน้ำยาแอร์ไปสักพัก แล้วสังเกตุว่าน้ำยาแอร์เติมไม่ค่อยจะเข้า(ดูจากหน้าปัดเกจวัดความดันไม่ค่อยจะขึ้น) ให้จับที่ถังน้ำยาแอร์ จะเย็นมากหรือจับตัวเป็นน้ำแข็งรอบถัง ให้หยุดการเติมน้ำยาแอร์จนกว่าถังน้ำยาแอร์ไม่เย็นมากไปครับ


วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีขจัดคราบเลือด คราบไขมัน คราบเชื้อรา ในผ้าขาว

เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวอีกเรื่องหนึ่งนะครับ สำหรับท่านๆที่เปิดให้บริการที่พักหรือรีสอร์ทเล็กๆอย่างผม เมื่อแม่บ้านมาบอกว่าผ้าขาวเปื้อนคราบเลือด คราบเชื้อรา คราบไขมัน ซักไม่ออกทำไงดี(นึกในใจว่าทำใจซิ..อิอิ) ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อท่านใช้ น้ำยาขจัดคราบไขมัน, น้ำยาซักผ้าขาว(น้ำยาฝอกผ้าขาว)  และผงล้างผ้า  แล้วใช้อย่างไงใช่มั้ยครับ

วิธีที่1 ซักแบบเป็นจุดๆไป(กรณีเปื้อนมาก)
1. นำผ้าขาวไปแช่น้ำให้เปียก
2. เทน้ำยาขจัดคราบไขมันบริเวณที่เปื้อนคราบเลือด คราบเชื้อรา คราบไขมัน
3. ใช้น้ำยาซักผ้าขาว(ผสมน้ำ 50:50 ก่อนใช้) ฉีดเป็นสเปรย์บริเวณที่เปื้อน คราบเลือด คราบเชื้อรา คราบไขมัน ทิ้งไว้1-2นาที คราบจะจ่างไปเรื่อย ๆ
4.ล้างน้ำออก
5.ถ้ายังไม่สะอาดทำข้อ 2-3 ซ้ำ จนกว่าจะสะอาด
คำเตือน  การป้ายน้ำยาในการขจัดคราบฝั่งแน่นเฉพาะจุด ควรซักน้ำออกทันที ไม่ควรทิ้งน้ำยา
ตกค้างบนผ้าเป็นเวลานาน ทำให้ผ้าชำรุดได้

วิธีที่2 ซักแบบธรรมดากับเครื่องซักผ้า(กรณีเปื้อนไม่มาก เป็นบริเวณกว้าง)
1. ผสม น้ำยาขจัดคราบไขมัน + น้ำยาซักผ้าขาว + น้ำยาซักผ้า ใส่ในช่องผงซักฝอก
2. ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่ม + ผงล้างผ้า
3. ซักแบบปกติ

ปล. น้ำยาขจัดคราบไขมัน และน้ำยาซักผ้าขาว  มีความเป็นด่าง
       ผงล้างผ้า  มีความเป็นกรด

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์ แบบต่อขนานกับแบตเตอรี่

 การต่ออนุกรมแผงเพื่อเพิ่มแรงดัน และการประยุกต์ใช้



การต่อขนานแผงเพื่อเพิ่มกระแสรวม แต่ไม่เพิ่มแรงดัน 


 การต่อใช้งานโซล่าร์เซลล์แบบขนานแผงโดยไม่ใช้คอนโทรลชาร์ท เหมาะกับระบบที่ต้องใช้งานทุกวันอย่างต่อเนื่อง หากต่อแผงขนานร่วมกัน
จนได้กระแสรวมในระบบมากกว่า 10A แบตเตอรี่สำรองไฟควรมีความจุมากกว่า 100A เผื่อไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการชาร์จเกิน
การต่อใช้งานอาจจะแตกต่าง แต่หลักการการทำงานและการนำไปใช้งาน เหมือนกันหมด  แบบข้างต้นเป็นระบบเล็กๆ กระแสไม่สูงมาก กระแสที่ได้ในแต่ล่ะวันไม่มากพอจะทำให้เกิดการชาร์จประจุแบตฯเกินแน่นอน  แต่ที่สำคัญ ระบบต้องมีการใช้ไฟสัมพันธ์กับไฟที่ประจุเข้าแบตฯ  ส่วนวันหนึ่งๆจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง กินไฟมากน้อยแค่ใหน ยกตัวอย่างเช่น MONO60W (out 20V 4A) x2 =8A ในหนึ่งวันผลิตกระแสชาร์จลงแบตฯได้สูงสุด 35A หากใช้แบตฯ 120A 1ลูก หากสภาพแบตฯ 100% ก็ต้องใช้เวลาสามวันกว่าแบตฯจะเต็ม แต่ถ้าหากเพิ่มแบตฯเผื่อไว้ 2หรือ4ลูกยิ่งนานเข้าไปอีก หากในกิจกรรมการใช้ไฟฟ้าใน 24ชั่วโมง ไฟฟ้าถูกใช้ไป 400-500Wจะพอดีกับกระแสที่ชาร็จเข้าในแต่ล่ะวันทำให้แบตฯไม่มีวันเต็ม    แต่ หากใช้ไฟเกิน 500Wขึ้นไป ไฟก็จะไม่พอใช้ ต้องเพิ่มแผง เพิ่มแบตฯ     แต่หากการใช้ไฟไม่มาก นานๆครั้ง ไม่พอดีกับกระแสที่ชาร์จเข้า ก็ควรติดตั้งคอนโทรลชาร์จให้ระบบราคาไม่กี่บาท     แต่ข้อดีการต่อแบบไม่มีคอนโทรลชาร์จ คือ ลดปัญหาที่อาจจะเกิดจากการบกพร่องของตัวอุปกรณ์เอง   ยิ่งมีจุดต่อหรืออุปกรณ์ในระบบหลายจุด โอกาสที่อุปกรณ์ต่อร่วมจะเสียทำให้ระบบทำงานไม่ได้ก็มีมากเช่นกัน ยิ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล การตามช่างมาแก้ไข การจัดหาอุปกรณ์มาเปลี่ยนซ่อมไม่สะดวกแน่
     หากไม่เข้าใจ พื้นฐานระบบจากเล็กๆ ก็ยากที่จะควบคุม หรือทำระบบขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
                        การใช้โซล่าร์เซลล์สูบน้ำจะต้องใช้กำลังมาก มอเตอร์ต้องกินกระแสไฟ เกินกว่า 10Aต่อชั่วโมง 
  ความคิดส่วนตัว ลงทุนสักสองหมื่นกับระบบสูบน้ำขนาด 1นิ้ว ที่คาดหวัง(น้อยๆ)การใช้งานมากกว่า 5ปี(โซล่าร์มีอายุงาน 30up) ได้ไช้ไฟแสงสว่างและสูบน้ำ โดยไม่ต้องเสียค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า แล้วคุณคิดว่าไงล่ะ(คาดราคารวมท่อน้ำ ปั้ม แบตฯ มอเตอร์  ชุดโซล่าเซลล์ 60W mono 3แผง และค่าแรงงานทำเอง)
หากใครสนใจจะทำบ้าง ศึกษาให้มาก อ่านให้มากๆก่อน  ยังไงก็ยังยืนยัน อย่ามองข้ามพื้นฐานเล็กๆ

การต่อเซลล์แผ่นโซล่า มีหลักการคล้ายกับการต่อเซล์ลถ่านไฟฉาย คือ หากต้องการแรงดันไฟ(โวลต์)เพิ่มขึ้น 
ก็ต้องนำถ่านไฟฉายหลายๆก้อนมาต่อกัน โดยเอาด้านขั้วต่อกันในลักษณะนี้ 
-[ - 1.5 +]>[ - 1.5 +]>[ - 1.5 +]>[ - 1.5 +]>+

เข้าใจว่า ทุกคนคงพอนึกออก และต้องเคยทำมาแล้ว

ทุกวันนี้คนทั่วไปยังให้ความสนใจไม่จริงจัง ความมุ่งมั่นเรื่องนี้ยังน้อย ยังมองเป็นเรื่องยาก 
   ยกตัวอย่างน้องเมียที่จบวิศวะกรรมโพลิเมอ อ้างว่าสายงานที่เรียนไม่มีสอนเลยไม่รู้เรื่องโซล่าร์เซลล์ แต่ทีเรื่องไอโฟน ไอแพด คาดว่าที่ ม. ก็คงไม่ได้สอน กับรู้ดีกว่าเรื่องโซล่าร์เซลล์เสียอีก ยิงฟันยิ้ม
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=66964.msg1610227#lastPost

ระบบโซล่าร์เซลล์ กับรีสอร์ทเล็กๆ

เอาแบบเท่าที่ผมพอนึกออก ระบบที่พออยู่ได้แบบสบาย แจกแจงข้อมูลเท่าที่คิดได้  ตัวอย่างวิธีคิด

๑.  ใช้หลอดไฟ LED  ขนาด 5W ใช้ไฟ 12V จะได้ไม่ต้องซื้ออินเวอร์เตอร์ และหลอดไม่เสียเมื่อไฟตก
 ใช้ในห้องนอน 2ห้อง 2หลอด  เปิดช่วงเวลา 18.30-22.30น. รวมเป็นเวลา 4ชั่วโมง = 40W
 ระเบียง 1หลอด  เปิดใช้ในช่วงเวลาโดยประมาณ 18.30-22.30น. รวมเป็นเวลา 4ชั่วโมง = 20W
 ห้องครัว 1หลอด เปิดใช้ในช่วงเวลาโดยประมาณ 18.30-21.30น. รวมเป็นเวลา 3ชั่วโมง = 15W
 หน้าบ้านใช้ 2หลอด เปิดใช้ตลอดคืน 18.30-05.30น. รวมเป็นเวลา 11ชั่วโมง = 110W
  รวมใช้หลอดไฟLED 5W  12V ทั้งหมด 6หลอด   หากเปิดทั้งหมดกินไฟรวม 185W
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=64444.msg1568519#msg1568519

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้า 220VAC ดังนั้นต้องซื้ออินเวอร์เตอร์เพิ่ม
๒.  พัดลม ขนาด 16นิ้ว กินไฟประมาณ 100วัตต์ ใช้ 2ตัว ในหนึ่งวันเฉลี่ยการใช้งาน 6ชั่วโมง = 1,200W
๓.  ตู้เย็นขนาด9.5คิว หรือกินไฟ 150วัตต์ เปิดตลอด 24ชั่วโมง = 150x24=3,600W
๔.  โทรทัศน์ขนาด21นิ้ว กินไฟ150วัตต์  ในหนึ่งวันเฉลี่ยการใช้งาน 8ชั่วโมง = 1,200W
๕.  หม้อหุงข้าวจุ 2ลิตร ขนาด800วัตต์ ช่วงเวลา 06.00-07.00น. และ 17.00-18.00น.ใช้ 2ครั่ง รวม =1,600W
๖.  หม้อต้มน้ำไฟฟ้า 1.5ลิตร ขนาด 500วัตต์ ไว้ชงเครื่องดื่ม ช่วงเวลา 07.00-08.00น.ใช้ 1ครั่ง รวม =500W
๗.  ปลั๊กชาร็จโทรศัพท์มือถือ 5W x 2  อาจจะชาร์จพร้อมกันสองเครื่อง กินไฟรวมในหนึ่งชั่วโมง เท่ากับ 10W
รวมการใช้พลังงานไฟฟ้าในหนึ่งวัน  = 8,295W 

แนวทางเพื่อคำนวนการใช้งาน inverter (แบบธรรมดาแค่พอใช้)
          ปลั๊กชาร็จโทรศัพท์มือถือ และตู้เย็นควรใช้ inverter sine modified 300W แยกเฉพาะตัวไปเลย
      ในหนึ่งวัน ในช่วงที่คาดว่าต้องใช้กระแสไฟมากสุด คือ ช่วงค่ำ ช่วงเวลา 18.00น.-21.00น. 
๑. เปิดโทรทัศน์ดูข่าวภาคค่ำ(150W/hr)   ๒. เปิดพัดลม (100W)   ๓. ใช้เครื่องไฟฟ้าสำหรับเตรียมอาหาร(1,000W)
สรุป: หากประมาณการใช้เท่านี้ inverter sine modified 300W และ 1500W อย่างล่ะตัวก็พอ   

ประเมินการใช้กระแสไฟในช่วงตลอดคืน ที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด 4,685W โดยประมาณ
๑.  แสงสว่าง 5W ทุกจุด 6หลอด = 185W
๒. เปิดโทรทัศน์ดูข่าวภาคค่ำ (150W/hr)   4ชั่วโมง = 600W
๓.  เปิดพัดลม (100W/hr) ห้องนอนละตัว เปิดนอนตลอดคืนเฉลี่ย 12ชั่วโมง+ ตอนค่ำ 4ชั่วโมง =1,600W
๓.  ใช้เครื่องไฟฟ้าสำหรับเตรียมอาหาร(1,000W)
๕.  หม้อหุงข้าวจุ 2ลิตร ขนาด800วัตต์ ช่วงเวลา 06.00-07.00น. ใช้ 1ครั่ง รวม =800W
๖.  หม้อต้มน้ำไฟฟ้า 1.5ลิตร ขนาด 500วัตต์ ไว้ชงเครื่องดื่ม ช่วงเวลา 07.00-08.00น.ใช้ 1ครั้ง รวม =500W
ฉนั้น  กระแสไฟสำรองสำหรับพอใช้ตลอดการใช้ทั้งหมด = กำลังวัตต์(4,685)  หารด้วย แรงดันในระบบ(12V)
จะได้ = 396.416Amp สำรองด้วยแบตฯ 12V 100A อย่างน้อย4ลูก  ต้องมีแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผลิตกระแสชาร์จได้ 20A/hr

 หากให้แจงทุนละเอียดกว่านี้คงตอบไม่ได้ เพราะไม่เคยจัดชื้อ ตัวอย่างข้างต้นเป็นแค่แนวทาง ส่วนการนำไปใช้จริง ต้องมีรายละเอียดอีกมาก ทั้งต้นทุนระบบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษา ลองเอาไปคิดดูและปรับใช้เองครับ
หากมีส่วนไดที่คิดผิด หรือตกหล่น ท่านผู้รู้จริง และผู้ที่มีประสบการณ์ช่วยเพิ่มเติมด้วย
 ผมเรียบเรียงจากความรู้ที่มีได้เท่านี้
 หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆท่าน